7/23/2552

Field trip.....!!!

วันที่ 4 กรกฎาคม 2552



บ้านทรงชัย จังหวัดสระบุรี บ้านเรือนไทยนี้มีอายุกว่าร้อยปีได้ถูกย้ายมาเพื่อการอนุรักษ์อย่างหนึ่ง และเพื่อให้เห็นถึงการดำรงชีวิตแบบไทยสมัยเก่า ภายในบริเวณบ้านก็จะมีกลิ่นอายของการใช้ชีวิตแบบไทยดั้งเดิม มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พื้นบ้านเป็นลานดินโล่ง ภายในมีความร่มรื่น ร่มเย็น มีชานที่ยื่นติดกับริมน้ำ ซึ่งชี้ให้เห็นชัดว่าชีวิตคนไทยอาศัยแหล่งน้ำเป็นสำคัญในการดำเนินชีวิต
และตอนเที่ยงก็ได้ไปทานอาหารที่หอวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านไทยยวนเป็นบ้านทรงไทย บนเนินและลงไปเป็นแม่น้ำและมีศาลาเรือนแพ ให้บรรยากาศที่เย็นสบายมาก แล้วพอทานข้าวเสร็จก็มีเด็กๆมาฟ้อนรำให้ดู เป็นการฟ้อนที่สวยงามประทับใจ แล้วได้เห็นอาจารย์จิ๋วแจกเงินเด็กๆที่มารำให้ดู ช่างเป็นภาพที่น่ารัก 
ในช่วงเย็นใกล้มืดอาจารย์ก็พาแวะไปที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้มืดแล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายอย่างรวดเร็วแล้วรีบถ่ายรูป เป็นอุโบสถที่ทำจากหินศิลาแลง มีฐานหนามี Sense ของ landscape ทำให้เกิดบรรยากาศที่เงียบสงบ ซึ่งเข้าไปแล้วก็รู้สึกอย่างที่อาจารย์ว่าจริงๆ ที่นี่ไม่ได้ถ่ายรูปเลยเพราะแบตหมด เสียดายมากจริงๆ ถ้ามีโอกาสก็อยากที่จะกลับไปอีก

วันที่ 5 กรกฎาคม 2552





วันนี้เริ่มต้นที่ วัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง วันนี้ฝนได้ตกลงมาแต่เช้า เข้าไปภายในหวัดจะเจอกับต้นไม้ใหญ่สองต้น เป็นต้นโพธิ์ต้นหนึ่งและต้นมะม่วงต้นหนึ่งในลานวัดเป็นลานทรายทำให้เห็นที่ว่างที่ส่งให้อุโบสถเด่นขึ้นมา ถัดจากนั้นก็มีรูปั้นสิงค์สองตัวคู่กัน ในส่วนอุโบสถก็จะมีกำแพงล้อมล้อมก่อนชั้นหนึ่ง มีประตูซุ้มก่อนเข้าไปในตัวอุโบสถ ส่วนตัวของอุโบสถเป็นคอนกรีต ส่วนหลังคานั้นทำจากไม้ เป็นหลังคาซ้อนชั้นที่สวยงามมากที่หนึ่ง บริเวณภายในเขตอุโบสถก็เป็นลานทราย และมีเจดีย์อยู่ข้างหลัง แต่ก็อยู่ภายในเขตกำแพงเดียวกัน รอบๆเจดีย์มีแท่นว่างพระพุทธรูปเล็กๆ วางอยูโดยรอบเป็นจุดๆ บรรยากาศภายในของวัดก็เงียบสงบ ข้าพเจ้าคิดว่าสามารถนั่งนิ่งๆ ได้เป็นวันๆ เลย

จากนั้นเวลาประมาณเที่ยงๆ ก็ได้ไปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ยังอยู่ที่จังวัดลำปางอยู่ วัดแห่งนี้เป็นวัดที่มีสิงห์ตัวใหญ่สองตัวอยู่หน้าบันไดทางขึ้น ตรงบันไดทางขึ้นข้างๆ มีหัวพญานาคที่มีไข่อยู่ในปาก ไข่นี่เป็นไข่ไก่ที่ชาวบ้านเอาไปวางไว้เพื่อบูชา ขึ้นไปจะเจอกับซุ้มประตูสูง วิหารคดรายล้อม กำแพงเป็นกำแพงฉาบปูนแต่เติม แต่ตอนนี้เห็นเป็นอิฐเนื่องจากปูนที่ฉาบหลุดออกไปกลับกาลเวลา ทางเข้ามีซุ้มประตูแบบล้านนา เรียกซุ้มมณฑก การซ้อนชั้นหลังคา เป็นคติความเชื่อสู่ชั้นสวรรค์ Space ภายในเป็นช่องเสาช่วงกว้าง ที่นี่ไม่มีการตกแต่งอย่างวิจิตร สังเกตจากวิหารคด ลานโล่ง การเชื่อมต่อต่างๆเกิดความลื่นไหลกับ space

วันที่ 6 กรกฎาคม 2552



วันนี้ได้เข้าไปดูในหมูบ้าน ได้เห็นสภาพของบ้านชาวบ้านพื้นเมืองที่เค้าใช้ชีวิตแบบที่พึ่งพาอาศัยอยู่กับธรรมชาติ มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นการเพราะปลูก เกษตรกรรม สภาพของหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่ส่วนมากเป็นบ้านเรือนไม้ ยกใต้ถุนสูง อาจารย์อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงมีได้แต่ต้องเข้าใจและใช้ปัญญา และรักษาความเป็นท้องถิ่นพื้นบ้านได้ และที่นี่ได้ไปดูทุ่งนาที่ชาวบ้านกำลังทำนาอยู่ ขณะที่ฝนยังตกปรอยๆ ซึ่งฉากหลังเป็นภาพทิวทัศน์ของภูเขาที่มีเมฆหมอกคลุมอยู่เป็นภาพที่ประทับใจข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าได้เดินลงไปในทุ่งนา และได้สัมผัสแล้วรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก ทำให้เกิดคำถามว่า ชีวิตเรายังต้องการอะไรอีก ถ้าเพียงแค่เห็นอย่างนี้ก็มีความสุขแล้ว ชีวิตที่เรียบง่าย ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย มีความสุขที่แบบเรียบง่าย





ต่อจากนั้นได้ไปวัดช่วงกอม ที่นี้ไม่มีรูปเพราะแบตหมดไปกับหมู่บ้านก่อนหน้านี้แล้ว เลียดายจริงๆ วัดนี้เป็นวัดที่มีสถาปนิกออกแบบ สถาปนิกของการเคหะแห่งชาติ อุโบสถเป็นแบบล้านนา ซึ่งมีความสวยงามดีทีเดียว แต่เรื่องหนึ่งที่อาจารย์ติว่าดูขัดๆ นั้นคือตรงกำแพงวัดที่เป็นกำแพงอิฐเหมือนกับของ Frank ซึ่งไม่ทำให้เกิดความอ่อนน้อมในความรู้สึก และส่วนตัวของข้าพเจ้าก็คิดว่าควรเป็นกำแพงฉาบปูนแบบเก่าน่าจะเหมาะสมกว่า อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะคิดอย่างไร ไม่ว่ากัน

วันที่ 7 กรกฎาคม 2552




วันนี้ดอนเช้าอากาศค่อนข้างสดชื่นเนื่องจากฝนเริ่มเบาลงแล้วเช้านี้ เลยออกไปที่ระเบียงห้องพักและได้เห็นภาพที่สวยงามของเมืองที่ปกคลุมด้วยหมอกและภูเขาที่มีเมฆลอยเกาะยังกับขนมสายไหม สูดอากาศได้เต็มปอดจริงๆ
วันนี้ตอนเช้าอาจารย์พาไปที่วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาราม จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่มีการพัฒนาจากแบบเดิมมาแล้ว คือส่วนของอุโบสถ เสาเป็นโครงสร้างคอนกรีต ส่วนหลังคายังคงเป็นไม้อยู่ แต่มีการประดับประดาด้วยลายไทยที่วิจิตร ภายในอุโบสถไม่ได้ตกแต่งอะไรมาก ไม่ได้ติดฝ้าเพดาน ปล่อยโล่ง และประตูของอุโบสถนี้เป็นประตูไม้ด้วยเช่นกัน
ตอนบ่ายๆไปที่วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง เป็นวัดที่ยกฐานวัดสูง เดินขึ้นไปจะเจอกับเจดีย์ทองและมีศาลาพระอยู่ข้างๆ ซึ่งเป็นศาลาที่สวยงามมาก ขางหลังเจดีย์เป็นโบสถ์พระนอน ข้างล่างมีพิพิธภัณฑ์ของเก่าที่ทางวัดทำขึ้นมาเป็นห้องที่ไม่กว้างมากนัก ในนั้นก็จะมีหีใส่พระไตรปิฎก เป็นต้น



วัดศรีรองเมืองเป็นวัดที่งดงามมาก เป็นไม้ทั้งหลัง หลังคาซ้อนชั้นได้สัดส่วนงดงามมากๆ เป็นอาคารยกถุนสูง ภายในประดับประดาด้วยกระจกสีต่างๆ ระยิบระยับสวยงามประทับใจมาก แนวความคิดคือได้จำลองสรวงสวรรค์ ให้เกิดความรู้สึกว่าได้มาสัมผัสกับสวรรค์ชั้นดาวดึงและที่นี่ก็ได้พักทานข้าว ซึ่งที่นี่เขาใจดีมา ได้นำอาหารมาเลี้ยงพวกเราได้อิ่มกันถ้วนหน้า 

วันที่ 8 กรกฎาคม 2552



วันนี้ไปวัดท้องฟ้าเปิดมาก เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าตัดกลับหลังคาของวัดสวยงามมาก เริ่มต้นที่วัดพระพันเต้า จังหวัดเชียงใหม่ตัวโบสถ์ของวัดนี้เป็นไม้เกือบทั้งหลัง มีคอนกรีตที่ฐานและผนังบางส่วน วิหารไม้ใช้วิธีการยึดผนังเป็นลูกฟัก หลังคาไม้ซ้อนชั้นสูง วันนี้เดิมไม่ได้ใช้ตะปู ภายในห้องอุโบสถ มีความโอ่อ่ากว้างขวาง เพราะที่นี่ไม่ได้ตีฝ้าเพดานเลยทำให้รู้สึกโล่งมาก ส่วนผนังภายในก็ไม่ได้ประดับตกแต่งอะไร ปล่อยให้เห็นผนังที่เป็นไม้ ไม่ได้หรูหราแต่ก็มีคุณค่าในความเป็นไม้ เรียบง่าย
ต่อจากนั้นก็ได้ไปวัดทุ่งอ้อ จังหวัดเชียงใหม่ วัดนี้มีอุโบสถที่ตัวโบสถ์ทำด้วยไม้และก่ออิฐหลังคาไม้ มีการยกฐานสูง รวงผึ้งมีการปั้นปูน คนทวย เต้า ปั้นลม มีการขมวดและผายออกเป็นตัวเหงา หน้าจั่วประดับลวดลายไม้ และตรงทางขึ้นของวัดนี้ไม่ได้เป็นตัวสิงห์เหมือนวัดทางภาคเหนือส่วนมาก เสาภายในทำเส้นตั้งทำให้ Space อัดตัวเป็นทางสูงให้ความรู้สึกมีกำลังในแนวตั้ง



วัดต้นแกว๋นหรือวัดอินทราวาส จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่เป็นแหล่งรวมสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม พยายามรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพแวดล้อมเป็น Public space องค์ประกอบสำคัญคือวิหาร มณฑปโอบล้อมแท่นวิหารคด ข้างหน้าเป็นบ่อน้ำสาธารณะ ต้นไม้รอบรั้วเป็นพวกโกศล ข้างในเป็นต้นตาลลำต้นสูงชะลูด กระเบื้องภายในวิหารเป็นกระเบื้องพื้นเมือง ยิ่งเก่ายิ่งสวย มีการใช้สีต่างกันในแต่ละจุด มีแกะสลักลายไม้ที่อ่อนช้อยสวยงาม

วันที่ 9 กรกฎาคม 2552





วันนี้ศูนย์การเรียนรู้บ้านทรงไทยล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มบ้านเรือนไทยภาคเหนือแบบต่างๆ วันนี้พอไปถึงอยู่ดีๆ ฝนก็ตกลงมาทำให้พวกเราทั้งหมดต้องหลบฝนในบ้านหลังแรกที่อาจารย์พาขึ้นไปก่อน ซึ่งเรือนนี้เป็นเรือนล้านนาดัดแปลง มีการใช้สอยแบบล้านนา ยกถุนสูง หันแกนทางทิศตะวันออกตะวันตก มีชานบ้านเปิดโล่ง ด้านล่างโรยกรวดทราย จะได้ทำความสะอาดได้ง่าย ภายศูนย์นั้นก็มีบ้านแบบอื่นๆอีก ได้แก่ บ้านเรือนทรงปั้นหยา เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยาเหลื่อมซ้อนกันอย่างลงตัวผสมผสานกับหลังคาจั่วที่ยื่นออกมจากด้านหน้าของตัวเรือน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ชั้นบนมีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้าห้องโถงใหญ่ จนถึงด้านหลังบ้านและภายในห้องโถงมีบันไดลงสู่ชั้นล่างด้วย
บ้านพื้นถิ่นแม่แตง รูปแบบของเรือนพัฒนามาจากเรือนพื้นถิ่นที่เป็นเรือนเครื่องผูกแบบเดี่ยว ลักษณะของเรือนเป็นเรือนจั่วแฝดที่สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง ตัวเรือนยกพื้นสูง ส่วนหลังคาจั่วหลักเชื่อมต่อกันโดยมุงด้วยกระเบื้อดินขอ มีชานเดินระหว่างเรือนสองหลัง โครงสร้างเป็นระบบเสาคาน มีการเจาะช่อง สอดเข้าเดือย บาก พาด พนังเป็นแผ่นไม้ตีซ้อนแนว พื้นเป็นไม่แผ่น
ส่วนบริเวณอื่นๆก็จะมียุ้งข้าวที่มีเสาสูงมากและไม่มีบันไดขึ้น เพื่อป้องกันการขโมยข้าวกันเกิดขึ้น บรรยากาศโดยรวมนั้นร่มรื่น ร่มเย็น สดชื่น
พอเวลาบ่ายๆ ก็ไปในหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปมาก เป็นหมู่บ้านชนบทที่มีป่าเขา และบ้านเรือนส่วนใหญ่ชาวบ้านสร้างขึ้นตนเอง วัสดุในการสร้างบ้านจึงมีความหลากหลาย และได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ พอถึงที่นี่ก็เริ่มเย็นมากแล้ว ก่อนกลับได้ไปเล่นน้ำที่ทำนบเขื่อนเล็กๆ ของชาวบ้าน ที่ไหลมาจากภูเขา น้ำเย็นมาก เป็นที่ที่ชาวบ้านใช้น้ำจากฝ่ายนี้ในชีวิตประจำวัน







วันที่ 10 กรกฎาคม 2552





วันที่ 8 ของการเดินทาง เริ่มต้นของวันด้วยการไปที่สนามบินสุโขทัย เป็นสนามบินส่วนตัวของสายการบิน ภายในอาคารขาเข้า หลังคาไม้วางจันทัน วางม้าต่างไหม ลดหลั่นหลังคาเป็นพื้นเตี่ยว มีการนำเอารูปแบบของสุโขทัยมาใช้แต่ไม่ทั้งหมด มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานด้วย มีการใช้เหล็กประกบ เป็นอาคารเปิดโล่งไม่มีผนัง เวลาฝนตกจะเอาผ้ายาง ม้วนลงมาคลุมกันฝนสาดแทน ส่วนที่นั่งรอ รองรับคนได้ 140 คน ใช้น้ำหยดในหลังคาลดความร้อน มีสระน้ำเป็นที่กันความปลอดภัย ตรงรันเวย์มีสระน้ำ และมรเจดีย์ทรงพุ้มข้าวบินเป็นสัญลักษณ์ว่าถึงสุโขทัยแล้ว
และบริเวณสนามบินมีสวนสัตว์ โรงเพราะพรรณพืช ดูเผินๆแล้วไม่เหมือนกับสนามบินเลย ให้บรรยากาศของสนามบินที่แตกต่างมาก
ถัดจากสนามบินสุโขทัยก็ไปที่ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์ไทยสังคโลก วันนี้อากาศร้อนมากๆ และพอได้เข้าไปนั่งข้างในของศูนย์แล้ว อากาศข้างในเย็นสบาย ศูนย์นี้เป็นที่เก็บสังคโลกโบราณที่ขุดพบในสุโขทัย เนื่องจากสมัยก่อนสุโขทัยทำสังคโลกส่งออก อาคารนี้ก็ได้ออกแบบโดยใช้ลักษณะของสุโขทัย Space ภายในเหมือนจัด Landscape นำมาใช้ในการออกแบบ


หลังจากนั้นก็ไปที่วัดเจดีย์เก้ายอด เป็นสถาปัตยกรรมโบราณสถานเก่าแก่มาก ระเบียบของการก่อเจดีย์เป็นการก่อแบบ Wall barely ที่นี่ได้ขึ้นไปดูแค่ยอดที่สองก็ต้องกลับลงมาเพราะมืดมากแล้ว อาจารย์เรียกลับให้ไปขึ้นรถก่อน เลยไม่ได้ไปดูส่วนที่เหลือ แต่เป็นที่ที่สวยงามมากเช่นกัน


วันที่ 11 กรกฎาคม 2552





วัดพระมหาธาตุ เป็นวัดสำคัญที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุโขทัย มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ ภายในวัดประกอบด้วยเจดีย์ประทานทรงพุ้มข้าวบิณฑ์ หรือทรงยอดบัวตูม มี วิหาร มณฑป อุโบสถและเจดีย์รายมีจำนวนมากถึง 200 องค์ มีพระปรางค์ทิศสี่องค์ ที่แสดงอิทธิพลศิลปะขอม และเจดีย์ประจำมุมอีก สี่องค์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด แสดงอิทธิพลศิลปะแบบล้านนา รอบฐานประดับด้วยรูปปูนปั้นพระสาวก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง ด้านหน้าเจดีย์สันนิฐานว่าเป็นที่ตั้งของวิหารหลวง ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่
วัดกุฎีราย เป็นวัดวัดที่มีสองหลังก่อด้วยศิลาแลง รวมทั้งหลังคาที่ก่อด้วยศิลาแลงด้วย ทรวดทรงของกุฏิแห่งนี้มีชื่อเสียงว่างดงามมาก กุฏิทั้งสองต่อเนื่องด้วยวิหารโถง กรมศิลปกรได้บูรณะ แต่อาคารมีการชำรุดมากจนไม่ศึกษารูปแบบเดิมได้

วันที่ 12 กรกฎาคม 2552







วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเดินทางครั้งนี้ ได้ไปที่วัดพระพุทธชินราช หรือวัดพระศรีมหาธาตุจังหวัดพิษณุโลก วัดนี้มีผู้คนมาสักการะจำนวนมาก ทั้งอย่างทำให้เป็นระบบเศรษฐกิจไปหมด ไม่มีบรรยากาศของความสงบในแบบที่วัดควรเป็น แต่ที่เห็นได้ชัดมองอีกแง่หนึ่งก็ดีที่ชาวบ้านมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในส่วนนี้ วัดนี้มีโบสถ์เป็นผนังก่ออิฐหลังคายังคงเป็นไม้หน้าจั่วประดับลวดลายวิจิตร เสาภายในมีการประดับประดาด้วยทองคำเปลวเหลืองอร่าม อลังการและสวยงาม ภายในวัดมีเจดีย์ และพระปรางค์ด้วย จากนั้นอาจารย์ก็ปล่อยให้ไปซื้อของฝากเนื่องจากเป็นวันสุดท้ายแล้ว พอซื้อของฝากเสร็จต่างพากันขึ้นรถแล้วก็เดินทางกลับบ้าน เย้
จากที่ได้มาทริปครั้งนี้ ทำให้รู้ว่าคนไทยสมัยก่อนนั้น มีความสามารถสร้างอาคารที่งดงามอย่างนี้ ด้วยภูมิปัญญาที่ชาญฉลาด ทำให้เกิดศิลปะของสถาปัตยกรรมที่งดงามและควรค่าแก่การรักษา และทำให้รูว่าประเทศไทยยังมีที่เที่ยวมากมาย แค่เราต้องออกไปสัมผัสมันเท่านั้น ;)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น