10/10/2552

The Beaux Arts Style

Beaux Arts Style เป็นการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบกรีกและโรมันกับแนวคิดของ Renaissance เป็นที่นิยมของอาคารสาธารณะขนาดใหญ่และบ้านผู้ที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย

สถาปัตยกรรม Beaux-Arts เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรม แบบ The Beaux Arts style ได้ริเริ่มใน École des Beaux Arts ใน กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถาปนิกชาวอเมริกันหลายคนได้ศึกษาที่โรงเรียนสถาปัตยกรรมที่เป็นตำนานแห่งนี้ ที่ที่พวกเค้าได้เรียนเกี่ยวกับหลักการเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของการออกแบบคลาสสิกและได้นำพวกเขากลับไปสู่การออกแบบที่สหรัฐอเมริกา

"Beaux Arts style” อยู่ถึงกว่าสองศตวรรษของการเรียนการสอนภายใต้ผู้เชี่ยวชาญ เริ่มแรกที่ Académie royale d'architecture แล้วหลังจากนั้น ตามมาด้วยการปฏิวัติสถาปัตยกรรมของ Académie des Beaux-Arts จัดตั้งภายใต้ Ancien Régime ในการแข่งขันสำหรับ Grand Prix de Rome เพื่อเสนอให้มีการเรียนการสอนในกรุงโรม และรุ่งเรื่องมากในยุค Second Empire (1850-1870) และ the Third Republic ต่อมา ลักษณะการสอนนั้นก่อให้เกิด Beaux-Arts architecture อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการปรับปรุงใหม่ใหญ่จนถึงปี 1968

The Beaux-Arts style มีอิธิพลอย่างมากในสถาปัตยกรรมสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ 1880-1920 นอกจากนี้เหล่าสถาปนิกยุโรปในช่วงปี ค.ศ 1860-1914 ได้นำวิชาการไปใช้ในศูนย์วิชาการของชาติและค่อนข้างมากกว่าในปารีส ในส่วนสถาปนิกอังกฤษศิลปะแบบคลาสสิคในการพัฒนาสูงสุด นั้นในรัฐบาล New Delhi ยุคของ Sir Edwin Lutyens ตามหลักสูตรค่อนข้างอิสระมากขึ้นเนื่องจากนโยบายทางวัฒนธรรมของปลายศตวรรษที่ 19

ลักษณะเฉพาะของ The Beaux-Arts style





Alternating male and female mascarons decorate keystones on the San Francisco City Hall







Beaux-Arts building decoration presenting images of the Roman goddesses Pomona and Diana. Note the naturalism of the postures and the rustication of the stonework




แม้ว่า Beaux-Arts style จะกลายเป็นวิถีทางทำให้เกิดจิตวิญญาณใหม่ภายในขนบธรรมเนียมที่หรูหรามากว่าการจัดของความคิดที่เป็นจุดสำคัญของศิลปะ ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรม Beaux-Arts อาจสรุปโดยย่อได้ดังนี้
>หลังคาแบน
>หน้าต่างทำเป็นโค้ง
>ประตูทรงโค้งและทรงหน้าจั่ว
>มีรายละเอียดที่คลาสสิก อ้างอิงถึงการสังเคราะห์ของสไตล์ historicist
>มึความสมมาตร
>งานปั้น ประติมากรรม แกะสลักผนัง,ประติมากรรมร่าง,กลุ่มประติมากรรม) จิตรกรรมฝาผนัง, กระเบื้องเคลือบสลับสีและงานศิลปะอื่นๆทั้งหมดรวมกันก่อให้เกิดเอกลักษณ์ของอาคารขึ้น
>รายละเอียดสถาปัตยกรรมคลาสสิก ราวจับบันได ลูกกรง, เสา, ประดับประดาด้วยพวงมาลา,เป็นต้น
>การออกแบบที่เป็นระเบียบ
>ลักษณะที่ใหญ่โตโอ่อ่า
>การตกแต่งที่ที่อลัการและปราณีต

ก่อนของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริ่มพบคู่แข่งใหม่ที่สำคัญในหมู่สถาปนิกของ Modernism และกำลังเริ่ม International style(สถาปัตยกรรม) ชื่อเสียงของ École ทำให้ สไตล์ "Beaux-Arts" กลับมาอีกในการประนีประนอมลักษณะใหม่ที่มีการศึกษาแบบดั้งเดิม สถาปนิกทั้งหมดในการฝึกต้องผ่านขั้นตอนในศึกษารูปจำลองแบบโบราณ, วิเคราะห์ ถอดแบบจากกรีกหรือแบบโรมัน ศึกษาและขั้นตอนธรรมเนียมอื่นๆในการแข่งขันที่ยาวนานเพื่อให้ได้สอง-สามสถานที่ที่น่าพอใจที่ the Académie de France à Rome(สถาบันใน Villa Medici) กับความต้องการดั้งเดิมของการส่งแบบการนำเสนอเป็นระยะที่เรียกว่า envois Rome de


The Beaux Arts style เรียกอีกอย่างว่า Beaux Arts Classicism, Academic Classicism,หรือClassical Revival สไตล์ Beaux Arts ใช้มากที่สุดสำหรับอาคารสาธารณะ เช่น พิพิธภัณฑ์ ,สถานีรถไฟ, ห้องสมุด,ธนาคาร, ศาลากลาง, และสถานที่ราชการ ในประเทศสหรัฐอเมริกาสไตล์ Beaux Arts นำไปสู่การวางแผนกับสิ่งที่ใกล้เคียงขอกจากอาคารแล้วเช่น ถนนขนาดใหญ่ ,ส่วนสาธารณะ

ความนิยมของthe Beaux Arts styleเสื่อมถอยในปี 1920 ภายใน 25 ปี ตึกรามบ้านช่องได้รับการพิจารณาว่าโอ้อวดหรูหร่าฟุ่มเฟือยเกินไป
ภายหลังในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้นับถือลัทธิโปสตมอเดร์นิสมได้ค้นพบได้ค้นพบคุณค่าของ the Beaux Arts ideals อีกครั้ง


ตัวอย่างอาคาร สไตล์ Beaux Arts


The Beaux Arts Vanderbilt Marble House in Newport, Rhode Island


Pont Alexandre III and Grand Palais in Paris.


Grand Central Terminal (Station opened 1871, Terminal 1903), New York City


The Iowa, a Beaux-Arts condominium in Washington, D.C.


Andrew Mellon Building


Government Conference Centre, Ottawa


The Beaux Arts Style กับสถาปัตยกรรมไทย

อาคารสไตล์ Beaux Arts แห่งแรกในประเทศไทย






ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาตลาดน้อย


ที่ตั้ง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายอันนิบาเล ริกอตติ (Annibale Rigotti)

ผู้ครอบครอง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2451

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2525


ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาตลาดน้อย เป็นที่ทำการธนาคารแห่งแรกของไทยที่ก่อตั้งขึ้นจากพระดำริของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ผู้ทรงได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งการธนาคารไทยแรกที่เดียว พระองค์ท่านได้ทรงทดลองดำเนินกิจการธนาคารขึ้นที่ตึกแถวย่านบ้านหม้อ ใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์ ในช่วงหลังจากเสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 ต่อมากิจการดำเนินไปได้ผลดี จึงทรงได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งธนาคารขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2449 เรียกว่า แบงก์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินการมาจนปี 2450 กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยก็สิ้นพระชนม์ หากกิจการธนาคารยังคงดำเนินต่อมา โดยได้ก่อสร้างที่ทำการถาวรแห่งแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 ณ ตลาดน้อย ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบัน

ตัวอาคารเป็นอาคาร 3 ชั้นสถาปัตยกรรมโบซารส์ (Beaux Arts) ออกแบบโดยนายอันนิบาเล ริกอตติ (Annibale Rigotti) ลักษณะเด่นคือการตกแต่งประดับประดาที่มากมายด้วยองค์ประกอบคลาสสิคจากยุคต่างๆ นำมาผสมผสานกันอย่างซับซ้อน อาทิ ลวดบัว หัวเสา ปูนปั้น และการทำผนังชั้นล่างเลียนแบบการก่อหิน ส่วนภายในตกแต่งอย่างหรูหราเช่นกัน อาคารนี้ได้มีการบูรณะตามความจำเป็น ครั้งหลังสุดคือในปีพ.ศ. 2538 ปัจจุบันยังคงให้บริการเป็นที่ทำการธนาคาร อันเป็นนโยบายและความภาคภูมิใจของธนาคารที่จะเก็บรักษาคุณค่า และความเป็นของแท้ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อสืบทอดเป็นประวัติศาสตร์ต่อไป



ที่มา :
http://www.hflight.net/forum/m-1231834731/s-26/
http://jan.ucc.nau.edu/~twp/architecture/beauxarts/
http://en.wikipedia.org/wiki/Beaux-Arts_architecture
http://architecture.about.com/od/periodsstyles/ig/Historic-Styles/Beaux-Arts.-0cU.htm

10/08/2552

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่ที่ชื่นชอบ "พี่กฤษ"



กฤษณ์ จิวะนันทประวัติ 46020001

น้องถาม : จบปีอะไร รุ่นที่เท่าไหร่คะ
พี่ตอบ : ปี 2550 รุ่นที่31
น้องถาม : จุดเริ่มต้นของการเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์
พี่ตอบ : ความสนใจในศิลปะศาสตร์
น้องถาม : มองคณะนี้อย่างไร ก่อนเข้าศึกษา
พี่ตอบ : สิ่งใหม่ เปิดกว้างทางด้านความคิด
น้องถาม : การเข้าเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์สมัยนั้น แตกต่างจากสมัยนี้อย่างไร
พี่ตอบ : หลักสูตร การเข้าใจถึงแก่นแท้
น้องถาม : ขณะเรียนคาดหวังหรือไม่ ที่จะทำงานในอาชีพสถาปนิก
พี่ตอบ : คาดหวังในอาชีพหลัก แต่ก็มีอาชีพรองอีกมากมาย
น้องถาม : เพื่อนร่วมรุ่นสมัยนั้นจบแล้ว ประกอบอาชีพอะไรบ้าง
พี่ตอบ : โดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในสายวิชาชีพนี้ หรือไม่ก็สายงานที่มีความเกี่ยวข้องกัน
น้องถาม : ความหลากหลายของวิชาชีพในสมัยก่อนและสมัยนี้
พี่ตอบ : ไม่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญกันมัน
น้องถาม : หลังจากจบปริญญาตรีแล้วสอบใบประกอบวิชาชีพเลยรึเปล่า
พี่ตอบ : เรียนรู้งานก่อนแล้วจึงสอบ
น้องถาม : งานชิ้นแรกที่ได้ทำในนามของการเป็นสถาปนิกคืองานอะไร
พี่ตอบ : ผู้ช่วยในทีมการออกแบบ
น้องถาม : งานที่ทำแล้วประทับใจที่สุดคืองานอะไร
พี่ตอบ : ทุกงาน ที่คิดว่าทำมันอย่างเต็มที่ที่สุด
น้องถาม : งานที่ทำแล้วไม่ประทับใจ
พี่ตอบ : ทุกงาน ที่คิดว่าทำมันแล้วไม่ใส่ใจมัน
น้องถาม : ขั้นตอนไหนยากสุดในการทำงาน
พี่ตอบ : กระบวนการวางแผนความคิด
น้องถาม : คิดอย่างไรกับคำว่า สงคราม 4 เศร้า (สถาปนิก, วิศวกร, ผู้รับเหมา, เจ้าของ) เคยประสบปัญหานี้บ้างหรือไม่
พี่ตอบ : นั้นคือรูปแบบความสัมพันธ์ ที่ขึ้นอยู่กับการจัดการระบบของแต่ล่ะฝ่ายมาประสานกัน
น้องถาม : ปรัชญาที่ใช้ในการทำงาน
พี่ตอบ : ทำให้เต็มที่ที่สุดกับงาน พร้อมกับสนุกและเรียนรู้ไปกับมัน
น้องถาม : จากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา มีวิธีผลกระทบรึไม่ และการเอาชนะอย่างไร
พี่ตอบ : การตั้งสติ ผลที่จะเกิดตามมาจากการที่เราตัดสินใจด้วยสติ
น้องถาม : โอกาสที่สถาปนิกไทยจะได้ทำงานในต่างแดนมีมากน้อยเพียงใด ควรพัฒนาอย่างไรให้มีมากขึ้น
พี่ตอบ : มันขึ้นอยู่กับตัวเองโดยตรง แค่คุณคิดว่าจะทำงานในต่างแดนคุณก็เดินไปหามัน เพราะตัวคุณองพัฒนา ตลอดเวลาอยู่แล้ว
น้องถาม : มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการร่วมงานสถาปนิกผู้หญิง และผู้หญิงไม่เหมาะที่จะทำอาชีพนี้รึเปล่า (ในประเทศไทย)
พี่ตอบ : ความสามารถเท่านั้นที่จะว่าคุณจะเหมาะกับอาชีพนี้หรือไม่
น้องถาม : ภาพที่เห็นของวงการสถาปนิกในอนาคตจะไปในทิศทางไหนอย่างไร
พี่ตอบ : มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างตอเนื่องและสามารถวางมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างมั่นคง
น้องถาม : สุดท้ายอยากฝากอะไรไว้ให้กับสถาปนิกรุ่นใหม่
พี่ตอบ : การตั้งคำถามกับตัวเอง การเรียนรู้กับตัวเอง การเข้าใจตัวเอง

ก็ต้องขอขอบคุณพี่กฤษที่สละเวลาอันมีค่ามานั่งตอบคำถามในครั้งนี้ด้วยนะคะ ซึ่งก็ได้เห็นทัศนคติในอีกแง่มุมนึกของอาชีพการทำงานนี้ ขอบคุณค่ะ

นี่คือของแถมค่ะ เป็นเพื่อนที่ทำงานของพี่กฤษค่ะ ชอบที่พี่เค้าตอบ ลองอ่านเล่นๆดูค่ะ

1.จบปีอะไร รุ่นที่เท่าไหร่คะ
สถาปัตย์ไทย ศิลปากร รุ่น 49 จบปี 2551
2.จุดเริ่มต้นของการเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์
อยากเป็นสถาปนิกตอนมอสี่แต่ไม่อยากเป็นเพราะทำสเก็ตดีไซน์ไม่เก่งตอนติวมอสี่ รุสึกกดดันเลยไม่อยากเรียน แต่วันนั้นที่เพื่อนชวนไปติวตอนมอหกก่อนสอบเจ็ดวันที่ศิลปากร เลยอยากเรียน ถาปัดอีกครั้ง
3.มองคณะนี้อย่างไร ก่อนเข้าศึกษา
แนวดีอ่ะ
4.การเข้าเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์สมัยนั้น แตกต่างจากสมัยนี้อย่างไร
สมัยก่อนเด็กวิดเข้าได้อย่างเดียว สมัยนี้ใครๆก้ออยากจะมาเรียน แม้แต่เด็กศิลป์ฝรั่งเศส งงเลย!
5.ขณะเรียนคาดหวังหรือไม่ ที่จะทำงานในอาชีพสถาปนิก
ตอนแรกๆไฟแรงอยากเป็นเกรซอย่างแรง หลังๆเริ่มทำอย่างอื่นดีกว่า ปวดหลังหว่ะ
6.เพื่อนร่วมรุ่นสมัยนั้นจบแล้ว ประกอบอาชีพอะไรบ้าง
ก้อส่วนใหญ่เป็นเตคอ่ะ แต่ทำกราฟฟิคบ้างก้อมี ครีเอทีฟบ้างก้อมี เปิดโชว์รูมรถก้อมี ที่ไม่เป็นเตคอ่ะรวยกว่า
7.ความหลากหลายของวิชาชีพในสมัยก่อนและสมัยนี้
เหมือนกับว่าสมัยก่อนเค้าบอนทูบี แต่สมัยนี้ค่อนข้างกะแส แต่คนที่ชอบมากๆในอาชีพนี้ก้อมีเยอะ เราคงส่วนส่วนน้อย
8.หลังจากจบปริญญาตรีแล้วสอบใบประกอบวิชาชีพเลยรึเปล่า
สอบซิ เพื่อนๆเค้าก้อสอบกัน ไม่สอบซิแปลก
9.งานชิ้นแรกที่ได้ทำในนามของการเป็นสถาปนิกคืองานอะไร
ออกแบบบ้าน
10.งานที่ทำแล้วประทับใจที่สุดคืองานอะไร
ศาลพระภูมิ เล็กๆแต่ได้ใจความ
11.งานที่ทำแล้วไม่ประทับใจ
ออกแบบบ้านในข้อเก้า
12.ขั้นตอนไหนยากสุดในการทำงาน
ควบคุมงานก่อสร้าง เป็นคอนเซาวล์ แล้วเจอผู้รับเหมาไม่ดี
13.คิดอย่างไรกับคำว่า สงคราม 4 เส้า (สถาปนิก, วิศวกร, ผู้รับเหมา, เจ้าของ) เคยประสบปัญหานี้บ้างหรือไม่ ประจำ
เป็นเรื่องปกติ
14.ปรัชญาที่ใช้ในการทำงาน
งานหนักเงินน้อย แต่ อย่าหมิ่นเงินน้อย และอย่าคอยวาสนานะ ไม่เกิดหรอก
15.จากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา มีวิธีผลกระทบรึไม่ และการเอาชนะอย่างไร
ก้อมีแต่เจ้านายดีมีชัยไม่กว่าครึ่ง แฟร์ๆ
16.โอกาสที่สถาปนิกไทยจะได้ทำงานในต่างแดนมีมากน้อยเพียงใด ควรพัฒนาอย่างไรให้มีมากขึ้น
อย่าคอยวาสนา ให้สนับสนุนกันเองทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่ขัดขากันเองหรือเล่นพรรคพวกเส้นใหญ่กว่าได้งานไรงี้ อยากให้มองที่แนวคิด คนไม่ดังอาจมีความคิดที่เจ๋งกว่าคนที่ดังแล้ว
17. มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการร่วมงานสถาปนิกผู้หญิง และผู้หญิงไม่เหมาะที่จะทำอาชีพนี้รึเปล่า (ในประเทศไทย)
ก็จริง อย่างเช่น ผู้รับเหมาเห็นคอนเซาวล์เป็นผู้หญิงและอายุน้อยก้อจะไม่ค่อยเชื่อถือ สงสัยว่าทำไมต้องกลัวแต่ผู้หญิงที่เฮี้ยมๆและดุถึงจะเกรงใจกันและเชื่อถือ สวยและใสล่ะเป็นเหยื่อแน่ๆ
18.ภาพที่เห็นของวงการสถาปนิกในอนาคตจะไปในทิศทางไหนอย่างไร
ไม่รุซิ น่าจะดีมั้ง เกาะกระแสไปเรื่อยๆ อยากให้มีเจ้าของงานที่เข้าใจสถาปัตยกรรมเยอะ ตึกเมืองไทยจะได้สวยๆ เพราะสถาปนิกมักจะแพ้ทางผู้รับเหมา
19.สุดท้ายอยากฝากอะไรไว้ให้กับสถาปนิกรุ่นใหม่
ตั้งใจเรียนเยอะๆจบออกมาจะได้มีพื้นฐานที่ดี และค้นหาตัวเองไปเรื่อย อย่าหยุดพัฒนา